แผ่นดินไหวในประเทศไทย ย้อนดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 40 ปี

 


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

         แผ่นดินไหวในประเทศไทย เปิดสถิติข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทย ในรอบ 40 ปี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย และมีระดับความรุนแรงตั้งแต่ 4.0 แมกนิจูดขึ้นไป

        ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50-100 ปี เพราะมีขนาดความรุนแรงมากถึง 6.3 แมกนิจูด สร้างความเสียหายให้บ้านเรือนประชาชน สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงไม่น้อย เพราะเป็นการเกิดแผ่นดินไหวบนบกที่ลึกจากพื้นดินเพียงแค่ 7.4 กิโลเมตรเท่านั้น

        ทั้งนี้ เรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเรื่องไกลตัว เพราะในประเทศไทยเองมีรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่มีพลังอยู่ถึง 14 รอยเลื่อน และเคยปรากฏเหตุแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ปัจจุบัน ซึ่งก็มีระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยที่ไม่ทำให้เรารับรู้แรงสั่นสะเทือนไปจนถึงระดับความรุนแรงมากจนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเกิดความเสียหายขึ้นได้

        วันนี้ กระปุกดอทคอม นำสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2557 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย และเป็นแผ่นดินไหวที่ระดับความรุนแรง 4.0 แมกนิจูดขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่รับรู้แรงสั่นสะเทือน และทำให้วัตถุแกว่งไกวได้ มาย้อนให้รู้ไว้เป็นข้อมูลกัน 
 
        ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทย เคยเกิดที่ไหนบ้าง และเกิดเมื่อไหร่ ไปดูกันเลยค่ะ

                                           วันที่                                           
   ขนาด     (แมกนิจูด)                                 
จุดศูนย์กลาง  ความเสียหาย
5 พ.ค. 2557  
 6.3  อ.พาน จ.เชียงราย บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้ แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม.
4 มิ.ย. 2555  4.0  อ.เมือง จ.ระนอง รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
16 เม.ย.2555  4.3  อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง
 เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง ใน อ.ถลาง
23 ธ.ค. 2551  4.1  อ.พระแสง
 จ.สุราษฎร์ธานี 
รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
19 มิ.ย.2550
 4.5  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
22 เม.ย.2550  4.5  อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ.พะเยา
 13 ธ.ค.2549
 5.1  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้เกือบทั่วไปใน จ.เชียงใหม่ และอาคารสูงใน จ.เชียงราย
17 พ.ย.2549  4.4  อ.พาน จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.พาน และ อ.เมือง จ.เชียงราย
 15 ธ.ค.2548  4.1 จ.เชียงราย   
 รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.เทิง จ.เชียงราย
 4 ธ.ค.2548  4.1  จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
18 ธ.ค.2545  4.3  อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงราย
 2 ก.ค.2545  4.7  อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน อ.เมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.เมือง จ.พะเยา, อ.เมือง จ.น่าน มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ
22 ก.พ.2544  4.3  เขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี  รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
13 ก.ค.2541  4.1  อ.ฝาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย
 2 ก.พ.2540  4.0  บริเวณ อ.สอง จ.แพร่  รู้สึกได้ที่ อ.สอง จ.แพร่
 21 ธ.ค.2538 5.2  อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุเสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 1 คน จากการล้มศีรษะ กระแทกพื้น มีความเสียหายเล็กน้อยที่บริเวณใกล้ศูนย์กลาง
 9 ธ.ค.2538  5.1  อ.ร้องกวาง จ.แพร่  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อย ที่ จ.แพร่
 5 พ.ย.2538  4.0  อ.ฝาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
17 ต.ค.2538  4.3  อ.ปาย แม่ฮ่องสอน  รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
11 ก.ย.2537  5.1  อ.แม่สรวย จ.เชียงราย  รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย มีความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาลพาน วัด และโรงเรียน 
 8 พ.ค.2537  4.5  จ.เชียงใหม่   
 รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.ลำพูน
 5 พ.ย.2534  4.0  จ.แม่ฮ่องสอน  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
 3 พ.ย.2533  4.0   จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
12 ต.ค.2533  4.0  จ. เพชรบูรณ์  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
28 พ.ค.2533  4.2   จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
15 ธ.ค.2532  4.0  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
29 พ.ย.2531  4.5  จ.กาญจนบุรี  สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
25 ก.ค.2531  4.2  จ.พะเยา  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่
19 ก.พ.2531  4.2  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่
30 ส.ค.2526  4.2  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.กาญจนบุรี
18 ก.ค.2526  4.7  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
22 เม.ย.2526  5.2  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย
22 เม.ย.2526  5.9  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย
15 เม.ย.2526  5.5  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนใน กทม.
20 มิ.ย.2525  4.3  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้อง
22 ธ.ค.2523  4.0 จ.แพร่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แพร่
10 ก.พ.2523  4.2  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ นาน 5 วินาที
24 ก.ค.2521  4.0  จ.ตาก  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.สามเงา อ.อุ้มผาง และ อ.แม่สอด จ.ตาก
26 พ.ค.2521  4.8 อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่              
 เสียหายเล็กน้อยที่ อ.พร้าว รู้สึกสั่นไหวนาน 15 วินาที ที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง
17 ก.พ.2518   5.6 
 พม่า-ไทย (จ.ตาก)
รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึง กทม. มีความเสียหายเล็กน้อย                                        

 
        ทั้งนี้ ยังมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในแถบประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว รวมทั้งในทะเลอันดามัน และประเทศอินโดนีเซีย ที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย โดยเหตุการณ์ครั้งใหญ่และรุนแรงที่สุดก็คือ การเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ขนาด 9.1-9.3 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 อันส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าหลายจังหวัดของไทย คร่าชีวิตชาวบ้าน ประชาชน นักท่องเที่ยวในประเทศไทยไปกว่า 5 พันราย และทั่วโลกเกือบ 2 แสนราย


        นอกจากนี้ หากย้อนไปดูข้อมูลในประวัติศาสตร์ ก็พบหลักฐานที่บันทึกถึงการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยเมื่อครั้งอดีตไว้เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ก็อย่างเช่นในปี พ.ศ. 1008 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จนทำให้โยนกนครยุบจมลง เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น

แผ่นดินไหวภาคเหนือ

         บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในภาคเหนือ เพราะเป็นบริเวณที่มีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุด นั่นจึงทำให้ในแต่ละปี มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในภาคเหนืออยู่หลายครั้ง ตั้งแต่ขนาดเล็กที่ไม่ทำให้คนรับรู้แรงสั่นสะเทือน ขนาดปานกลางที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้บ้าง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้สิ่งปลูกสร้างได้อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557

         ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า ในภาคเหนือนั้นเกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ตามมาด้วยเชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พะเยา ตามลำดับ กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบกับภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ปี 2550 มาให้ดูกัน

        ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เคยเกิดขึ้นในภาคเหนือ มีดังนี้
 
       วันที่                                       
         ขนาด (แมกนิจูด)
 
จุดศูนย์กลาง
ความเสียหาย
5 พ.ค. 2557 6.3
 อ.พาน จ.เชียงราย  บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม. 
7 มิ.ย. 2556
 3.1  ต.ทุ่งปี้ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่วาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
7 พ.ค. 2556  5.4  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหว ที่บ้านและบนอาคาร อ.แม่สาย อ.เมือง จ.เชียงราย
11 เม.ย. 2556  5.1  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แม่ฮ่องสอน
5 เม.ย. 2556  2.9  ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่วาง อ.หางดง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
2 มี.ค. 2556  3.4  ต.ทุ่งฝาย อ.เมือง จ.ลำปาง  ได้ยินเสียงดัง บ้านสั่น รู้สึกสั่นไหวที่ ต.ต้นฝาย ต.พิชัย ต.ต้นธงชัย จ.ลำปาง
7 ก.พ. 2556 4.3  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
20 ธ.ค. 2555  4.6  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และบนอาคารสูงจังหวัดเชียงใหม่
11 พ.ย. 2555  5.8  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ และบนตึกสูงของ จ.กรุงเทพมหานคร
11 พ.ย. 2555  6.6  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ จ.นนทบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
13 ก.ย. 2555  3.4  ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย กระจกและบ้านสั่น
10 พ.ค. 2554  4.0  ประเทศพม่า  รู้สึกที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
24 มี.ค. 2554  6.8  ประเทศพม่า  รู้สึกได้ในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และอาคารสูงใน กทม.หลายแห่ง และมีความเสียหายที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีผู้เสียชีวิต 1 คนจากผนังบ้านพังทับศีรษะ
6 ก.ค. 2553  4.5  ประเทศพม่า  รู้สึกได้ที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ. เชียงแสน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
5 เม.ย. 2553  3.5  อ.เวียงชัย จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย
20 มี.ค. 2553  5.0  ประเทศพม่า  ห่างจากพรมแดนไทย(แม่สาย) ประมาณ 80 กิโลเมตร    รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
1 ก.ค. 2551  3.8  อ.พร้าว เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวได้ที่ จ.เชียงใหม่
22 เม.ย. 2551  3.9  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
2 พ.ย.2550  5.7 พรมแดนพม่า-ลาว-จีน  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
16 ต.ค. 2550  5.0  ตอนเหนือของลาว  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
 23 มิ.ย. 2550  5.5, 5.2  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร
19 มิ.ย. 2550  4.5  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
16 พ.ค.2550  6.1  พรมแดนลาว – พม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่หลายจังหวัดในภาคเหนือและอาคารสูงใน กทม.
15 พ.ค. 2550  5.1  พรมแดนลาว – พม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
22 เม.ย. 2550  4.5  อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ. พะเยา
6 ม.ค. 2550  3.1  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


แผ่นดินไหวภาคใต้

                ในภาคใต้มีรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่มีพลังอยู่ 2 จุด คือรอยเลื่อนระนอง ซึ่งพาดผ่านจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งพาดผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย และทะเลอันดามันด้วย ทำให้แถบนี้เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา บริเวณภาคใต้ของไทยเคยเกิดแผ่นดินไหว หรือได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังนี้

                ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เคยเกิดขึ้นในภาคใต้
มีดังนี้

                                   วันที่                                
      ขนาด 
 
(แมกนิจูด)      
                        
จุดศูนย์กลาง
ความเสียหาย
2 ก.ค. 2556  6.0 ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
รู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.ภูเก็ต จ.พังงา และอาคารสูงในกรุงเทพฯ
23 มิ.ย. 2555  6.3  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา  รู้สึกบนอาคารสูง จ.ภูเก็ตและ สงขลา
4 มิ.ย. 2555 4.0  อ.เมือง จ.ระนอง  รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
16 เม.ย. 2555  4.3  ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ. ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง  เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง
11 เม.ย. 2555 8.6 ชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา รู้สึกได้ในหลายจังหวัดในภาคใต้และภาคกลาง รวมถึงภาคอีสาน เกิดคลื่นสึนามิสูง 80 ซม. ที่ประเทศอินโดนีเซีย และ 30 ซม. ที่เกาะเมียง จ.พังงา
5 มี.ค. 2555 5.2  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกไหวเล็กน้อยที่ จ.ภูเก็ต
20 ก.พ. 2555  2.7  อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา รู้สึกได้บริเวณใกล้ศูนย์กลาง และมีความเสียหายเล็กน้อย
6 ก.ย. 2554  6.7  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
24 มิ.ย. 2554  3.5  กิ่งอำเภอหาดสำราญ จ.ตรัง รู้สึกที่ อ.กันตัง อ.ย่านตาขาว อ.เมือง จ.ตรัง
30 เม.ย. 2554  4.4  ทะเลอันดามัน รู้สึกที่ จ.ภูเก็ต
9 พ.ค. 2553  7.3  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวอาคารสูง จ. ภูเก็ต พังงา สุราษฏร์ธานี สงขลา และ กทม.
23 ธ.ค. 2551  4.1  อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
20 ก.พ. 2551  7.5  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงใน กทม. และภูเก็ต เกิดสึนามิขนาดเล็กบริเวณใกล้ศูนย์กลาง
28 ธ.ค. 2550  5.7  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.ภูเก็ต จ.พังงา
27 เม.ย. 2550  6.1  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.ภูเก็ต


            เหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น เพื่อปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหากต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน


ติดตาม ข่าวแผ่นดินไหวเชียงราย แบบอัพเดททั้งหมด คลิกเลย

 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา
- multiplustech.com


แผ่นดินไหวในประเทศไทย ย้อนดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 40 ปี โพสต์เมื่อ 7 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:30:27 314,771 อ่าน แสดงความคิดเห็น